Category การเงิน

ข่าวการเงินล่าสุด

ราคาทองวันนี้ (24 ก.พ. 66) คงที่ รูปพรรณบาทละ 30,500 บาท

ราคาทองวันนี้ (24 ก.พ. 66) รูปพรรณบาทละ 30,500 บาท คงที่ เมื่อเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้

ราคาทองคำประจำวันนี้ (24 ก.พ. 2566) คงที่ เมื่อเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้ โดยราคาทองรูปพรรณขยับมาอยู่ที่บาทละ 30,500 บาท ตามข้อมูลล่าสุด จากเว็บไซต์ของสมาคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 9.24 น.ที่ผ่านมา

ทองคำแท่งมีราคารับซื้อในประเทศอยู่ที่บาทละ 29,900 บาท ขายออก 30,000 บาท ตามประกาศของวันนี้

สำหรับทองรูปพรรณ 96.5% รับซื้ออยู่ที่บาทละ 29,364.92 บาท ราคาขายออกบาทละ 30,500 บาท ขณะที่ราคาทองคำตลาดโลก (Gold Spot) อยู่ที่ 1,827.50 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์

ข่าวการเงินล่าสุด

สรุปราคาทองคำ วันที่ 24 ก.พ. 2566

ทองแท่ง

รับซื้อ บาทละ 29,900 บาท
ขายออก บาทละ 30,000 บาท

ทองรูปพรรณ

รับซื้อ บาทละ 29,364.92 บาท
ขายออก บาทละ 30,500 บาท

แนะนำข่าวการเงิน อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : Coin Cloud บริษัท Bitcoin ATM ล้มละลาย

การเงิน

Coin Cloud บริษัท Bitcoin ATM ล้มละลาย

Coin Cloud บริษัท Bitcoin ATM ล้มละลาย

Coin Cloud หนึ่งในผู้ให้บริการ Bitcoin ATM รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาและบราซิล ยื่นฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่ 8 มกราคม ทำให้มีหนี้สินเกือบ 500 ล้านดอลลาร์ ฤดูหนาวของ crypto และการล่มสลายของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง FTX, Alameda Research และ Blockfi ทำให้สถานะทางการเงินของทางบริษัทได้รับผลกระทบอย่างหนัก ตามเอกสาร เจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดคือ Genesis Global Trading ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Digital Currency Group ที่บริษัทเป็นหนี้เงินกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ ในทางกลับกัน เจ้าหนี้รายใหญ่อันดับสองของบริษัทอย่าง Cole Kepro เป็นหนี้อยู่ประมาณ 8.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแตกต่างจากหนี้ของ Genesis เป็นอย่างมาก จากข้อมูล บริษัทมีสินทรัพย์อยู่ระหว่าง 50 ล้านถึง 100 ล้านดอลลาร์โดยมีเจ้าหนี้ประมาณ 10,000 ราย

การเกิดขึ้นและล่มสลายของ Coin Cloud

ในเดือนมกราคม 2022 ทางบริษัทเป็นผู้ให้บริการเครื่อง ATM สกุลเงินดิจิทัลรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีการติดตั้งตู้ Bitcoin ATM มากกว่า 1,100 เครื่องทั่วโลก บริษัทกำลังมองหาที่จะขยายเครือข่ายไปยังเครือข่ายค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ เนื่องจากความต้องการตู้ได้เร่งตัวขึ้นในช่วงที่เกิดโรคระบาด ซึ่งเกินความคาดหมายของบริษัทอย่างมาก

สถิติเปิดเผยว่าบริษัทติดตั้งตู้เอทีเอ็มมากกว่า 5,000 เครื่องที่กระจายอยู่ในสหรัฐอเมริกาและบราซิล ตู้เหล่านี้รองรับสกุลเงินดิจิทัลมากกว่า 40 สกุล เช่น Bitcoin, EthereumLitecoin, Bitcoin Cash, Dogecoin และอื่น ๆ นอกจากนี้ บริษัทเสนอโบนัสสูงถึง 25 ดอลลาร์ ใน BTC สำหรับลูกค้าที่ซื้อ 150 ดอลลาร์ผ่านตู้ ATM ของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรม ATM สกุลเงินดิจิทัลที่กำลังเติบโตประสบปัญหาลดลงอย่างมากในช่วงกลางปี 2022 เนื่องจากฤดูหนาวของสกุลเงินดิจิทัลและการปรับฐานราคาของ Bitcoin (BTC) ซึ่งสูญเสียมูลค่าประมาณ 70% หลังจากทำสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ 69,000 ดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน 2021

การเงิน

การเติบโตของอุตสาหกรรม Bitcoin ATM

อุตสาหกรรม ATM สกุลเงินดิจิตอลทั่วโลกยังคงเป็นภาคส่วนที่กำลังขยายตัวในระบบนิเวศของสกุลเงินดิจิตอล แม้ว่าผู้ให้บริการจะต้องเผชิญความยากลำบากในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ตามข้อมูลของ CoinATMRadar มีตู้ ATM 33,281 เครื่องติดตั้งในสหรัฐอเมริกา คิดเป็น 86.8% ของทั้งหมดในโลก รองลงมาคือแคนาดาซึ่งมีตู้ ATM 2,554 ตู้ คิดเป็น 6.7% ของจำนวนตู้ ATM ทั้งหมดทั่วโลก

แม้จะมีความท้าทายและข่าวที่น่ากลัวที่บริษัทล้มละลาย แต่ความต้องการตู้เอทีเอ็มสกุลเงินดิจิทัลยังคงเติบโต โดยอุตสาหกรรมนี้ยังคงเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในระบบนิเวศของสกุลเงินดิจิทัล

จำนวนตู้เอทีเอ็ม crypto ที่ใช้งานทั่วโลกยังค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนตู้เอทีเอ็ม fiat ซึ่งมีมากกว่า 3.2 ล้านเครื่องทั่วโลก สิ่งนี้เน้นถึงศักยภาพในการเติบโตในอุตสาหกรรม ATM สกุลเงินดิจิทัล

บริษัท crypto ATM อื่น ๆ ยังไม่ได้รายงานปัญหาทางการเงินใด ๆ ในความเป็นจริง เมื่อเร็ว ๆ นี้ BitStop ผู้ให้บริการตู้ ATM คริปโตเปิดเผยว่าได้รับ Genesis Coin เพื่อขยายการเข้าถึงเพิ่มเติม โดยขณะนี้ควบคุมมากกว่า 31.9% ของตู้ ATM คริปโตทั้งหมดทั่วโลก

ติดตามข่าวสารต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ >>> กสิกรไทยตั้งเป้าสินเชื่อปี 66 โต 5-7% ชูยุทธศาสตร์เติบโตยั่งยืน-ตอบโจทย์ลูกค้า

การเงิน

กสิกรไทยตั้งเป้าสินเชื่อปี 66 โต 5-7% ชูยุทธศาสตร์เติบโตยั่งยืน-ตอบโจทย์ลูกค้า

กสิกรไทยตั้งเป้าสินเชื่อปี 66 โต 5-7% ชูยุทธศาสตร์เติบโตยั่งยืน-ตอบโจทย์ลูกค้า

น ส.ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า กสิกรไทยตั้งเป้าหมายทางการเงินปี 2566 สินเชื่อโต 5-7% โดยตั้งเป้าสินเชื่อบรรษัทธุรกิจเติบโต 4-6% สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีเติบโต 1-2% และสินเชื่อลูกค้าบุคคลเติบโต 2-4% และควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ให้ NPL Ratio อยู่ต่ำกว่า 3.25% อีกทั้งยังคงดำเนินการเชิงรุกในการดูแล และให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่ลูกค้า พร้อมเดินหน้ายุทธศาสตร์บนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน เพื่อการเติบโตทางธุรกิจและตอบโจทย์ลูกค้า ผ่านการพัฒนาบริการบนดิจิทัล การยกระดับการปล่อยสินเชื่อ การขยายการให้บริการลงทุนและประกัน และการขยายตลาดใน AEC+3 รวมทั้งจะยังคงบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง Credit Cost คาดว่าจะอยู่ในช่วง 175-200 bps ทยอยลดลงจากระดับสูงสุดในปีก่อน โดยธนาคารยังคงใช้หลักความระมัดระวังและนโยบายทางการเงินที่รอบคอบในการพิจารณาสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

สำหรับแผนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจธนาคารกสิกรไทยยังคงขับเคลื่อนธุรกิจด้วยหลักการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงและการบริหารจัดการต้นทุนที่เหมาะสม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้า (To Empower Every Customer’s Life & Business)

การเงิน

ด้วยยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้
1.ก้าวสู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Sustainable Development) ด้วยหลักการ ESG ที่ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ความสามารถในการแข่งขันในโลกธุรกิจที่มีนวัตกรรม

2.ต่อยอดยุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตทางธุรกิจและตอบโจทย์ลูกค้า (Growth Strategy) ด้วยการเป็นผู้นำในการให้บริการชำระเงินทางดิจิทัล (Dominate Digital Payment) การยกระดับการปล่อยสินเชื่อทั้งด้านธุรกิจและบุคคล (Reimagine Commercial & Consumer Lending) การขยายการให้บริการลงทุนและประกันไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยและกลุ่มลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงการลงทุนและประกัน (Democratize Investment & Insurance) การเจาะตลาดและขยายการเติบโตทางธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 (Penetrate Regional Market) และการยกระดับประสบการณ์บริการและการขายแก่ลูกค้า (Strengthen Harmonized Sales and Service Experience)

3.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแบบ End-to-End โดยยกระดับความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบบริการแก่ลูกค้า ผ่านความสามารถหลัก (Key Capabilities) ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1.การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และการใช้ข้อมูล เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Data) 2.การเป็นที่ทำงานที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้และการเป็นผู้นำ (HR) 3.การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ธนาคารเป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในระดับภูมิภาค (IT) 4.การระบุความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและกำหนดแนวทางการป้องกันในเชิงรุก (Proactive Risk & Compliance) และ 5.การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยสร้างคุณค่าที่มากขึ้น (Value-Based Productivity)

ทั้งนี้ ในปี 2565 ที่ผ่านมา ธนาคารได้ดำเนินโครงการด้านยุทธศาสตร์ด้วยโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและบริบททางธุรกิจที่เปลี่ยนไป เช่น การผนึกเจเอ็มที ร่วมทุน 10,000 ล้านบาท จัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด (JK AMC) บริษัทร่วมทุนแห่งแรกในไทย ระหว่างธนาคารพาณิชย์และบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) เพื่อยกระดับการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ การเปิดตัว “K PAY LATER” เป็นธนาคารแรก ส่งมอบสินเชื่อช่วยคนตัวเล็กไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการขยายธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นรวมในธนาคารแมสเปี้ยน ประเทศอินโดนีเซีย เป็น 67.5% การเปิดสาขานครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และการเปิดตัว K PLUS Vietnam ที่เป็นแกนหลักในการสร้าง Digital Lifestyle Ecosystem ให้แก่ลูกค้าบุคคลในประเทศเวียดนาม เป็นต้น และในปี 2566 นี้ ธนาคารจะเดินหน้าโครงการเชิงยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบบริการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตและธุรกิจของลูกค้าในบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว