เด็ก

คุณปล่อยให้ “จอ” เลี้ยงลูก ใช่มั้ย

คุณปล่อยให้ “จอ” เลี้ยงลูก ใช่มั้ย

เด็ก

เด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบ เป็นวัยที่สมองมีการเติบโต ทำให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านกล้ามเนื้อ ภาษา สติปัญญา และด้านอารมณ์ สังคม

เด็กวัยนี้จะต้องเรียนรู้โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ภายใต้การสอน การบอก การแยกแยะสิ่งถูกผิด การคุ้มครองอันตรายโดยผู้เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด

เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถแปลงภาพและเสียงที่พบเห็น และได้ยินจากสื่อหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทมาเป็นความรู้ที่จะใช้กับโลกแห่งความเป็นจริงได้ด้วยตนเอง

จากการศึกษาวิจัยของ รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์กระทบต่อสุขภาพเด็กเล็กหลายๆ ด้านด้วยกัน เช่น

– พฤติกรรมก้าวร้าว เด็กที่ได้รับสื่อที่มีความรุนแรง ก้าวร้าว มีแนวโน้มนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าว

– พฤติกรรมซนและสมาธิสั้น เด็กที่ได้รับสื่อผ่านจอเป็นระยะเวลานานตั้งแต่อายุน้อย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมซนและสมาธิสั้น และก้าวร้าวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสื่อที่มีความก้าวร้าวรุนแรง

– พฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน เด็กที่ได้รับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่อายุ 6-18 เดือน มีความเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมดื้อ ต่อต้านและพฤติกรรมคล้ายออทิสติก เช่น พฤติกรรมแยกตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับสื่อที่ผลิตขึ้นสำหรับผู้ใหญ่

– พฤติกรรมด้านภาษา สื่อช่วยพัฒนาด้านภาษาได้ ถ้าออกแบบมาอย่างดีและพ่อแม่อยู่ช่วยแนะนำ

– ส่วนการดูรายการบันเทิงทั่วไป พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือพี่เลี้ยงเด็ก เปิดหน้าจอทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานต่อวัน จะมีผลทำให้พัฒนาการทางภาษาของเด็กล่าช้า

– ความสามารถสมองระดับสูง เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว นั่นคือเด็กที่ใช้สื่อมากกว่า นานกว่า จะส่งผลลบต่อความสามารถสมองระดับสูง เช่น การแก้ไขปัญหาซับซ้อน ความคิดสร้างสรรค์ การวางแผน การบริหารจัดการ

อัพเดทเด็ก มาใหม่ แนะนำเพิ่มเติม :  เครื่องนอนสำหรับเด็ก ใครว่าไม่สำคัญ เพื่อสุขภาพของลูกน้อย

เด็ก

เครื่องนอนสำหรับเด็ก ใครว่าไม่สำคัญ เพื่อสุขภาพของลูกน้อย

เครื่องนอนสำหรับเด็ก ใครว่าไม่สำคัญ เพื่อสุขภาพของลูกน้อย

การนอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กๆ เพราะหากเด็กๆ ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอในห้องนอนที่เหมาะสม และเครื่องนอนที่มีคุณภาพ ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพและพัฒนาการของพวกเขา สำหรับเด็กโตแล้ว พวกเขาสามารถเลือกการนอนที่สบายได้ด้วยตัวเขาเอง แต่สำหรับเด็กอ่อน คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่ค่อยมั่นใจว่า เครื่องนอนที่เลือกให้ลูกนั้นเหมาะสมกับลูกแล้วหรือไม่ จึงขอรวบรวมข้อมูลการเลือกเครื่องนอนสำหรับเด็กมาฝากค่ะ

เด็กอ่อนควรเริ่มใช้ตอนอายุเท่าไร?

เด็กเล็กๆ นั้นยังไม่จำเป็นต้องใช้หมอนและผ้าห่ม เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ เช่นผ้าห่มอาจเลื่อนไปคลุมศีรษะ หรือพันตัวเด็ก จึงแนะนำให้เด็กๆ เริ่มใช้หมอนและผ้าห่มตอนอายุประมาณ 1 ขวบ 6 เดือน – 2 ขวบขึ้นไป แต่หากจะใช้ผ้าห่มสำหรับทารกแรกเกิด ให้เลือกผ้าห่มที่เป็นผ้าฝ้ายที่มีน้ำหนักเบา และวางลูกให้เท้าชนปลายเตียง เพื่อไม่ให้ลูกดิ้นลงไปอยู่ใต้ผ้าห่มซึ่งจะเสี่ยงต่อการถูกผ้าห่มคลุมศีรษะ

การเลือกหมอนและผ้าห่ม ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะ?

เมื่อลูกน้อยเริ่มใช้เครื่องนอนได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกหาหมอน ผ้าห่มและเครื่องนอนสำหรับเด็ก โดยให้เลือกดูดังนี้ค่ะ

รูปทรงของหมอนรองรับศีรษะและคอของเด็กๆ ได้พอดี โดยหมอนที่เหมาะสมมักมีขนาดประมาณ 10 x 14 นิ้ว หรือ 12×16 นิ้ว และมีความเตี้ย ไม่ควรให้เด็กนอนหมอนของผู้ใหญ่เด็ดขาดค่ะ

เลือกใช้หมอนที่ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หลีกเลี่ยงหมอนขนสัตว์ แต่ให้เลือกใช้หมอนยางพาราสำหรับเด็ก หมอนเมมโมรี่โฟม หรือหมอนชนิดอื่นๆ ที่ปลอดภัยต่อลูกน้อย

สำหรับการเลือกผ้าห่มนั้น ควรเลือกที่คลุมไปถึงปลายเท้าของลูก มีความอ่อนนุ่ม และไม่ก่อภูมิแพ้ค่ะ

เด็ก

การเลือกที่เครื่องนอนสำหรับเด็กควรดูอะไรบ้าง?

นอกจากการเลือกเครื่องนอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ แล้ว การเลือกเตียงนอนที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันนะคะ เด็กคุณพ่อคุณแม่อาจเลือกที่นอนที่เป็นเบาะสำหรับเด็ก วางบนพื้นราบ หรืออาจจะใช้เตียงนอนสำหรับเด็กที่มีคอกกั้นก็ได้ค่ะอย่างไรก็ตาม สำหรับเด็กวัยกำลังเกาะคลาน การใช้เตียงนอนอาจจะมีอันตรายมากกว่าการใช่เบาะวางกับพื้นราบได้ เพราะมีโอกาสที่เด็กๆ จะปีนป่ายจนพลั้งตกลงมา นักวิชาการบางท่านจึงสนับสนุนให้เด็กๆ นอนบนเบาะที่วางราบกับพื้นจะดีกว่า เพราะนอกจากจะปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ ขยับร่างกาย ส่งเสริมพัฒนาการได้ดีอีกด้วยนะคะ

สำหรับเทคนิคการเลือกที่นอนของลูกน้อย

เลือกที่นอนที่มีความแน่น นุ่ม ยืดหยุ่นสูง ไม่แข็งหรือนิ่มมากเกินไป

เลือกยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ ออกแบบตามสรีระศาสตร์ของเด็กๆ

เลือกยี่ห้อที่ใช้วัสดุในการผลิตที่ดี ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ มีการบอกข้อมูลผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอย่างครบถ้วน และระบายอากาศได้ดีค่ะ

นอกเหนือจากการเลือกเครื่องนอนแล้ว การจัดห้องนอนให้มีคุณภาพ และสะอาด ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างเต็มที่ และมีสุขภาพ พัฒนาการที่ดีต่อไปค่ะ

ติดตามข่าวสารต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ >>> เปรียบเทียบ Pfizer VS Moderna วัคซีนโควิดสำหรับทารก 6 เดือน

ข่าวเด็กวันนี้

เปรียบเทียบ Pfizer VS Moderna วัคซีนโควิดสำหรับทารก 6 เดือน

เปรียบเทียบ Pfizer VS Moderna วัคซีนโควิดสำหรับทารก 6 เดือน

ทั่วโลกกำลังคิดค้นพัฒนาวัคซีนโควิดเด็กเล็กที่อายุ 6 เดือนถึง 4 ปี วัคซีนโควิดที่เริ่มนำมาใช้กับเด็กทารกและเด็กเล็กนี้เป็นเทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ซึ่งเป็นวัคซีนโควิดประเภทที่ดัดแปลงให้เข้ากับสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ง่ายที่สุด

Pfizer VS Moderna ปรับสูตรใช้กับเด็กเล็ก
ก่อนหน้านี้ทั้ง Pfizer และ Moderna ได้นำมาใช้กับเด็กวัย 5-12 ปี นำร่องที่สหรัฐอเมริกาเจ้าของลิขสิทธิ์การคิดค้นวัคซีน mRNA เจ้าแรกของโลก ต่อมาได้ปรับจำนวนโดสให้ต่ำลงและทดสอบกับกลุ่มเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปี พบว่าสามารถใช้ได้ในระดับที่ปลอดภัย และไม่มีใครแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ความแตกต่างระหว่าง Pfizer VS Moderna สูตรเด็กเล็ก
Pfizer สูตรเด็กเล็ก แนะนำให้ฉีดกับเด็กวัย 6 เดือน ถึง 4 ปี ฉีดทั้งหมด 3 เข็ม เข็มแรกกับเข็มที่สอง เว้นห่างกัน 3-8 สัปดาห์ เข็มที่ 3 เว้นจากเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลา 8 เดือน
Moderna สูตรเด็กเล็ก แนะนำให้ฉีดกับเด็กวัย 6 เดือน ถึง 5 ปี ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม เข็มแรกกับเข็มที่สอง เว้นห่างกัน 3-8 สัปดาห์ เข็มต่อไปเป็นเข็มกระตุ้น เว้นจากเข็มที่สอง 5 เดือน

การฉีดวัคซีนโควิด Pfizer VS Moderna แก่เด็กเล็ก

Pfizer-BioNTech COVID-19 Vaccine
วัคซีนโควิดเด็กเล็ก Pfizer สำหรับเด็ก 6 เดือน ถึง 4 ปี และผลข้างเคียง : เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในสหรัฐอเมริกามีจำนวนราว 18 ล้านคน จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาหาวัคซีนมาปกป้องพลเมืองของเขา ข้อมูลจาก CDC สหรัฐอเมริการะบุว่าเด็ก 6 เดือนถึง 4 ปี ในอเมริกา ติดเชื้อโควิดแล้วกว่า 2 ล้านคน เข้ารับการรักษาระดับรุนแรงในโรงพยาบาลมากกว่า 20,000 เคส และเสียชีวิตกว่า 200 ราย เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่พึงได้รับแล้ววัคซีนโควิดจะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงของอาการในเด็กเล็กได้

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (The U.S.Food and Drug Administration : FDA) ได้อนุมัติให้ใช้ไฟเซอร์แก่กลุ่มเด็กเล็กแล้ว ส่วนโมเดอร์นาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังจัดสรร

ข่าวเด็กล่าสุด

Moderna COVID-19 Vaccine
วัคซีนโควิดเด็กเล็ก Moderna สำหรับเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี และผลข้างเคียง : วัคซีนโมเดอร์นามีชื่อทางการค้าว่า Spikevax วัคซีนที่ฉีดให้กับเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี มีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของวัคซีนโมเดอร์นาที่ฉีดให้กับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป วัคซีนโมเดอร์นาสำหรับเด็กเล็กนี้ฝาเป็นสีน้ำเงินเข้ม ฉลากเป็นสีฟ้าอมเขียว หรือเรียกว่าสี Teal

ผลข้างเคียงของวัคซีนโมเดอร์นาในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี

ความปลอดภัยของวัคซีนโมเดอร์นาทดสอบกับเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี จำนวน 5,500 คน มีผลข้างเคียงที่รายงาน ดังนี้

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากวัคซีนโมเดอร์นาในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี
ในเด็กอายุ 3-5 ปี
– ปวดตรงจุดที่ฉีดยา
– อ่อนเพลีย
– ปวดศีรษะ
– ปวดกล้ามเนื้อ
– มีไข้

ในทารก 6 เดือนถึง 3 ปี
– หงุดหงิด ร้องไห้
– ปวดตรงจุดที่ฉีดยา
– ง่วงเหงา
– ไม่อยากอาหาร
– มีไข้

เด็ก 1 ใน 100 คน อาจพบอาการต่อมน้ำเหลืองบวม หรือแตะเจ็บที่รักแร้หรือขาหนีบ ผลข้างเคียงต่างๆ ที่มีอาการไม่รุนแรงถึงปานกลาง จะหายได้เองใน 2 วัน อาการปวดใช้ยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน หรือใช้แผ่นประคบเย็นได้

ข้อควรระวังก่อนรับวัคซีนโควิด-19 ในเด็กเล็ก

บุคคลที่ไม่ควรได้เข้ารับวัคซีนทั้ง Pfizer และ Moderna มีดังนี้

1. มีปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันอย่างหนึ่งต่อวัคซีน mRNA เข็มก่อน
2. ผู้ที่มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนอย่าง โพลีเอทิลีนไกลคอล (PEG)
3. เด็กที่ต้องกินยาต้านภาวะการแข็งตัวของเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

  • เด็ก 3 กลุ่ม ที่ต้องปรึกษาแพทย์เป็นพิเศษก่อนรับวัคซีนโควิด

เด็กที่มีโรคประจำตัวต่างๆ หรือเพิ่งหายป่วยจากโควิด-19 ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนรับวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี

เด็กที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 มาก่อน

ทั้งวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นามีคำแนะนำจากทางผู้ผลิตว่าควรเว้นระยะ 3 เดือนหลังยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากเด็กยังมีภูมิคุ้มกันจากการได้รับเชื้อโควิดอยู่

  • เด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน และภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด-19 และมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิต เมื่อรับวัคซีนโควิดอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันลดลง จึงต้องใช้วิธีการอื่นป้องกันการติดเชื้อด้วย เช่น การเว้นระยะห่างทางกายภาพ (Social Distancing)

  • เด็กที่เป็นโรคหัวใจ

เด็กที่เป็นโรคหัวใจ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน ทารกและเด็กที่เป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด สามารถเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ได้ แต่ควรได้รับคำแนะนำว่าช่วงเวลาใดที่เหมาะสมต่อการฉีดวัคซีนมากที่สุด

แต่ละประเทศกำลังทยอยนำวัคซีนป้องกันโควิดสำหรับเด็กเล็กที่มีประสิทธิภาพมาแจกจ่ายให้กับประชาชน สำหรับประเทศไทย สาธารณสุขได้นำวัคซีนไฟเซอร์เข้ามาใช้ก่อนโมเดอร์นา โดยเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา การกระจายวัคซีนทยอยไปสู่ผู้ปกครองที่ลงทะเบียนฉีดไว้กับหน่วยสาธารณสุขจังหวัดใกล้บ้าน หากมีข้อสงสัย หรือต้องการศึกษาข้อมูลเรื่องวัคซีนเด็กเล็กนี้สอบถามกับกุมารแพทย์ที่ดูแลบุตรหลานของท่าน หรือที่สาธารณสุขใกล้บ้าน